โรคอารมณ์สองขั้ว หรือที่เรามักเรียกกันทั่วไปว่า “ไบโพลาร์” (Bipolar Disorder) สาเหตุสำคัญเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเครียด สารเสพติด การเลี้ยงดู เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า สลับอารมณ์ดีผิดปกติ ราวกับเป็นคนละคน ต่อเนื่องกันยาวนานกว่า 1 สัปดาห์ โรคอารมณ์สองขั้ว(ไบโพลาร์) คือ โรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์เป็นอาการสำคัญ โรคนี้มีความชุกประมาณร้อยละ 1 ในผู้ใหญ่ เพศหญิงและเพศชายเท่าๆกัน
พบว่าประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการระหว่างอายุ 15-19 ปี แต่ผู้ป่วยบางคนอาจเริ่มมีอาการในระยะก่อนเข้าวัยรุ่นหรือวัยรุ่นตอนต้นก็ได้ โดยที่องค์การอนามัยโลกก็ได้ระบุว่า โรคนี้เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือความพิการ อันดับที่ 6 ของโลก และยังพบอีกว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จ
ผู้ป่วยจะมีอารมณ์แปรปรวนที่ผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ อารมณ์เศร้าหรืออารมณ์รื่นเริง
สนุกสนาน ในช่วงระยะอารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า หดหู่ ร้องไห้ง่าย เบื่ออาหาร เชื่องช้า ลังเล ตัดสินใจไม่แน่นอน ไม่มั่นใจตัวเอง คิดช้า ไม่มีสมาธิ รู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า และมีความคิดฆ่าตัวตาย ส่วนในช่วงที่มีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนานผิดปกติ ผู้ป่วยจะรู้สึกมีความสุขมาก อารมณ์ดี คึกคัก มีกำลังวังชา ขยันกว่าปกติแต่ทำได้ไม่ดี ความต้องการนอนน้อยลง พูดคุยทักทายผู้อื่น แม้แต่กับคนแปลกหน้า พูดมาก พูดเร็ว กิจกรรมทางเพศเพิ่มขึ้น ใช้จ่ายเปลือง เชื่อมั่นตนเองมาก การตัดสินใจไม่เหมาะสม ขาดความยับยั้งชั่งใจ หากถูกห้ามปรามหรือขัดขวางในสิ่งที่ต้องการจะหงุดหงิด ฉุนเฉียว ในรายที่มีอาการรุนแรงจะพบมีอาการหลงผิดแบบมีความสามารถพิเศษเหนือคนอื่น จนถึงมีภาวะหวาดระแวงได้
โรคนี้เกิดคือความผิดปกติของสารเคมีในสมองรวมทั้งปัจจัยทางด้านจิตสังคม ได้แก่ ความเครียดในชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อม โรคอารมณ์สองขั้วเป็นโรคที่เรื้อรังมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้ถึง80-90 % จึงจำเป็นต้องรักษาด้วยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ป่วย ญาติ และสังคม จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกับโรคและการรักษา โดย ผู้ป่วยเอง ก็ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด ดูแลตัวเอง ห้ามอดนอน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ห้ามใช้สารเสพติด สุรา แอลกอฮอล์ และ อย่าเครียด ขณะที่ ญาติและคนใกล้ชิด ก็ต้องดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาและปฏิบัติตามแผนการรักษา รวมทั้ง หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบ ให้กำลังใจ และมีการสื่อสารที่ดีในครอบครัว ตลอดจน สังคม ก็ต้องเข้าใจ ให้โอกาส และลดอคติ มองผู้ป่วยไบโพลาร์ไม่ต่างจากจากผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่สามารถรักษาได้ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเข้าสู่กระบวนการรักษาและใช้ชีวิตแบบเพื่อนแท้ไบโพลาร์ได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับคนทั่วไป เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย อาการสงสัยเป็น “ไบโพลาร์”
โรคไบโพลาร์ จะมีอาการพื้นฐานอยู่ทั้งหมด 4 อาการด้วยกัน ซึ่งอาการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนทั้งทางด้านอารมณ์และร่างกาย โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนทางอารมณ์ เรี่ยวแรง และความคล่องตัว รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงการทำงานอีกด้วย
ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะเกิดการแบ่งอารมณ์เป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน ได้แก่ ขั้วอารมณ์คึกคัก (Mania) หรืออารมณ์ดีผิดปกติ และขั้วซึมเศร้า (Depress) โดยระยะเวลาในการแสดงอาการของแต่ละขั้วอาจยาวนานหลายวัน หรืออาจยาวนานหลายสัปดาห์
ไบโพลาร์รักษาได้
ในปัจจุบัน โรคไบโพล่าห์สามารถรักษาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 100% แต่ผุ้ป่วยไบโพลาร์ที่รับการรักษา สามารถกลับมาใช้ชีวิต ทำกิจวัตรประจำวัน ทำงาน ได้เหมือนกับคนทั่วไป โดยการรักษาจะแบ่งออกเป็น
การรักษาด้วยยา เพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองของผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติ
การบำบัดทางด้านสังคมจิตใจ รับการปรึกษาและการทำจิตบำบัด
คนรอบข้างช่วยกันดูแล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรับการรักษา
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไบโพลาร์ที่เข้ารับการรักษา จะต้องปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันคนรอบข้างก็ต้องทำความเข้าใจและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบ เพราะโรคไบโพลาร์สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80-90 โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นได้แก่ เหตุการณ์สะเทือนใจ เหตุการณ์พลิกผันในชีวิต ภาวะเครียด และ การใช้สารเสพติด
สัญญาณเตือน! คุณอาจเข้าข่ายเสี่ยงเป็นไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์เป็นโรคที่คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วย หากสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีแนวโน้มที่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว ควรเข้ารับการปรึกษาและรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ได้ให้คำแนะนำถึงสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นไบโพลาร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้
มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ
มีอาการต่างๆ ของโรคซึมเศร้าแทรกซ้อนของโรคไบโพลาร์
พูดเร็ว
หงุดหงิดง่ายในบางกรณี
ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
อารมณ์ดีมากเกินไป (ไฮเปอร์)
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ไม่คิดหน้าคิดหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก: รศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
-------------------------------------------------------------------------------------------
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าLION EV อยากมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณ
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (Electric Motorcycles) หรือ จักรยานยนต์ไฟฟ้า คือรถที่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อนแทนเครื่องยนต์ โดยใช้พลังงานที่ชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่เป็นตัวจ่ายไฟไปยังมอเตอร์ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% และไม่ปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศโลก
-------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สมัครตัวแทนจำหน่าย ติดต่อเข้าชมสินค้าที่บริษัทได้ทางแชท
หรือโทรศัพท์ http://m.me/lionevthailand (เวลาทำการ วันจันทร์ - เสาร์ 08.30-16.30 น.)
โทร 087-548-3338 (เวลาทำการ วันจันทร์ - เสาร์ 08.30-16.30 น
สินค้าคุณภาพดี ตรงปก ราคาคุ้มค่า ที่ตั้งบริษัทชัดเจน ดำเนินธุรกิจมากว่า 20 ปี
จดแจ้งถูกต้อง มี มอก. เสียภาษีสรรพสามิตเรียบร้อยทุกชิ้น
มีบริการหลังการขาย เคลมได้ ไม่ทิ้งลูกค้า มีอะไหล่ให้บริการตลอด
มีรีวิวสินค้า มีสื่อการขายให้พร้อมสำหรับการขายสินค้า
มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา และ แนะนำ
ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงมากมาย และค่าใช้จ่ายแอบแฝงในการนำเข้าสินค้า
ให้เรารับความเสี่ยงทั้งหมดแทนคุณ ด้วยทีมงานมืออาชีพมากประสบการณ์
-------------------------------
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.lion-ev.com/bubble
-------------------------------
LION EV
“Live Electric Life”
ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคุณ
Comments